วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

17 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ
         ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

ส่งเสริมความสามารถพิเศษให้งอกงาม

       คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย หากลูกของเราเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์อันโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาะความสามารถด้านดนตรี แต่กลับไม่ได้รับการค้นพบจากพ่อแม่และผู้คนแวดล้อม จนทำให้พรสวรรค์นั้นต้องสูญหายไปอย่างน่าเศร้า มาเรียนรู้และช่วยสนับสนุนให้ เกมีแววเหล่านี้ ก้าวไปให้ไกลที่สุด และส่งเสริมให้เขาเป็นที่หนึ่งในด้านที่เขามีพรสวรรค์เป็นทั้งคนที่มีความสุข และได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพต่อไปในอนาคต ย้อนรอยการศึกษาเกี่ยวกับพรสวรรค์ของเด็ก ในช่วงท้ายๆ ของศตวรรษที่ 20 ที่เพิ่งผ่านพ้นมามีผลการศึกษาและงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องราวความเฉลียวฉลาดของเด็กในขวบปีต้นๆ ของชีวิต และได้ผลสรุปใหม่ๆ ที่น่าสนใจหลากหลายในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีพรสวรรค์เหล่านี้ตั้งแต่เล็กๆ รวมทั้งระบบการศึกษาที่เหมาะกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษเหล่านี้โดยเฉพาะ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้โดยเฉพาะ มีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะสเติร์นเบิร์ก (1991) และการ์ดเนอร์ (1983) สำหรับทฤษฎีของสเติร์นเบิร์คนั้น เขาแบ่งองค์ประกอบของความเฉลียวฉลาดออกเป็น 3 ส่วนกว้างๆ องค์ประกอบแรกคือสิ่งที่ชี้วัดว่าเหนือกว่าเด็กปกติ ประกอบไปด้วยการวางแผน, การตรวจสอบและการประเมินค่า องค์ประกอบที่สองคือการแสดงออกซึ่งแสดงให้เห็นผ่านทักษะและความสามารถ ส่วนองค์ประกอบสุดท้ายคือความรู้ความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการและการตีความสิ่งที่ได้เรียนรู้
ส่วนทฤษฎีของการ์ดเนอร์นั้น เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยความเฉลียวฉลาดที่ซับซ้อนหลากหลาย นั่นคือด้านภาษา คณิตศาสตร์ ดนตรี จลนศาสตร์ (ว่าด้วยความเคลื่อนไหวของวัตถุ) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ภายในเกี่ยวกับตัวตน การ์ดเนอร์ศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสามารถของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างซับซ้อนและหลากหลาย โดยไม่จำกัดอยู่เพียงหมวดใดหมวดหนึ่งเหมือนผลการศึกษาของสเติร์นเบิร์ก
นอกจากนักวิชาการด้านการศึกษาผู้ที่มีชื่อเสียงสองท่านนี้แล้ว ยังมีผลการศึกษาจากอีกหลายสำนักที่มีมุมมองแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ผลการศึกษาทั้งหลายเห็นตรงกัน คือความสามารถพิเศษพื้นฐานเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กคนใดแล้ว ผู้ที่ควรจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กๆ ฉายแววความสามารถออกมาอย่างเต็มที่คือพ่อแม่ คุณครู และบุคคลแวดล้อมที่จะหยิบยื่นแบบฝึกหัดและการฝึกฝนที่เหมาะสมให้แก่เด็กอย่างเต็มที่ และควรจะเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประสบการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งที่คุณค่าในพัฒนาการของเด็กต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น