3 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209
เวลา 11.30 - 14.00 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากโปรเจ็คเตอร์เสียดิฉันจึงได้ไปหาความรู้เพิ่มเติม
เรื่อง พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี (เด็กพิเศษ)
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น
การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้
ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้
ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา
ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย
ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้
จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
ไม่เหมือนกับเด็กปกติ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้
และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย บางคนอาจรู้จัก
ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้
จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่
โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส
หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่นหรือวัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น
ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง
5 ในการเรียนรู้ ในการสัมผัสวัตถุ / ของเล่น การใช้ตา
และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลีย
พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้
จึงจำกัด หรือห้ามปราม ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก
ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย
และไม่เกิดการเรียนรู้
ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก
และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย
ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ /
กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้ ขนาดและน้ำหนัก
ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก
ตลอดทั้งพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย
อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น
มีวิธีการเล่นอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น