วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

17 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ
         ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

ส่งเสริมความสามารถพิเศษให้งอกงาม

       คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย หากลูกของเราเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์อันโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาะความสามารถด้านดนตรี แต่กลับไม่ได้รับการค้นพบจากพ่อแม่และผู้คนแวดล้อม จนทำให้พรสวรรค์นั้นต้องสูญหายไปอย่างน่าเศร้า มาเรียนรู้และช่วยสนับสนุนให้ เกมีแววเหล่านี้ ก้าวไปให้ไกลที่สุด และส่งเสริมให้เขาเป็นที่หนึ่งในด้านที่เขามีพรสวรรค์เป็นทั้งคนที่มีความสุข และได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพต่อไปในอนาคต ย้อนรอยการศึกษาเกี่ยวกับพรสวรรค์ของเด็ก ในช่วงท้ายๆ ของศตวรรษที่ 20 ที่เพิ่งผ่านพ้นมามีผลการศึกษาและงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องราวความเฉลียวฉลาดของเด็กในขวบปีต้นๆ ของชีวิต และได้ผลสรุปใหม่ๆ ที่น่าสนใจหลากหลายในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีพรสวรรค์เหล่านี้ตั้งแต่เล็กๆ รวมทั้งระบบการศึกษาที่เหมาะกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษเหล่านี้โดยเฉพาะ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้โดยเฉพาะ มีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะสเติร์นเบิร์ก (1991) และการ์ดเนอร์ (1983) สำหรับทฤษฎีของสเติร์นเบิร์คนั้น เขาแบ่งองค์ประกอบของความเฉลียวฉลาดออกเป็น 3 ส่วนกว้างๆ องค์ประกอบแรกคือสิ่งที่ชี้วัดว่าเหนือกว่าเด็กปกติ ประกอบไปด้วยการวางแผน, การตรวจสอบและการประเมินค่า องค์ประกอบที่สองคือการแสดงออกซึ่งแสดงให้เห็นผ่านทักษะและความสามารถ ส่วนองค์ประกอบสุดท้ายคือความรู้ความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการและการตีความสิ่งที่ได้เรียนรู้
ส่วนทฤษฎีของการ์ดเนอร์นั้น เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยความเฉลียวฉลาดที่ซับซ้อนหลากหลาย นั่นคือด้านภาษา คณิตศาสตร์ ดนตรี จลนศาสตร์ (ว่าด้วยความเคลื่อนไหวของวัตถุ) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ภายในเกี่ยวกับตัวตน การ์ดเนอร์ศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสามารถของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างซับซ้อนและหลากหลาย โดยไม่จำกัดอยู่เพียงหมวดใดหมวดหนึ่งเหมือนผลการศึกษาของสเติร์นเบิร์ก
นอกจากนักวิชาการด้านการศึกษาผู้ที่มีชื่อเสียงสองท่านนี้แล้ว ยังมีผลการศึกษาจากอีกหลายสำนักที่มีมุมมองแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ผลการศึกษาทั้งหลายเห็นตรงกัน คือความสามารถพิเศษพื้นฐานเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กคนใดแล้ว ผู้ที่ควรจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กๆ ฉายแววความสามารถออกมาอย่างเต็มที่คือพ่อแม่ คุณครู และบุคคลแวดล้อมที่จะหยิบยื่นแบบฝึกหัดและการฝึกฝนที่เหมาะสมให้แก่เด็กอย่างเต็มที่ และควรจะเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประสบการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งที่คุณค่าในพัฒนาการของเด็กต่อไป
10 ธันวคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

        วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

 ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

            อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

            รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

            พระมหากษัตริย์
          
            สภาผู้แทนราษฎร
          
            คณะกรรมการราษฎร
           
            ศาล

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ

          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

           2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  
           3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
   
           4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
   
           5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

           6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
 
           7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

           8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

           9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
  
           10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

           11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
   
           12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
  
           13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  
           14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
  
           15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
   
           16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  
           17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
   
           18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)


 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ

           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น

           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

            คำปรารภ
   
            หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
   
            หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
   
            หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
   
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
   
            หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
   
            หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
   
            หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
   
            หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
   
           หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
   
            หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
   
            หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
  
            หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
   
            หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
   
            หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

            หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
   
            บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)


 วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

            มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ



3 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.


       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากโปรเจ็คเตอร์เสียดิฉันจึงได้ไปหาความรู้เพิ่มเติม เรื่อง พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี (เด็กพิเศษ)

     เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย

ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับเด็กปกติ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้ และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย บางคนอาจรู้จัก ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้

      จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่ โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่นหรือวัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ในการสัมผัสวัตถุ / ของเล่น การใช้ตา และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลีย

พ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ จึงจำกัด หรือห้ามปราม ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย และไม่เกิดการเรียนรู้

      ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ / กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้ ขนาดและน้ำหนัก ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก ตลอดทั้งพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น มีวิธีการเล่นอย่างไร
26 พฤศจิกายน 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

           เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ Children With Behavioral and Emotional Disorders
·      ควบคุมตัวเองไม่ได้
·      ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
แบ่งได้ 2 ประเภท
·      เด็กที่ไดรับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (รุนแรง)
·      เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
·      วิตกกังวล
·      หนีสังคม
·      ก้าวร้าว
การจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
·      สภาพแวดล้อม
·      ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดต่อเด็ก
·      เรียนหนังสือไม่ได้
·      มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
·      มีความคับข้องใจและเกิดอารมณ์
·      มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมชัดว่ามีความรุนแรง
·      เด็กสมาธิสั้น
·      เด็กออทิสติก
เด็กสมาธิสั้น เรียกย่อๆว่า ADHD
·      อยู่ไม่นิ่ง
·      ปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่องทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)
ลักษณะของเด็กทีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
·      อุจาระ ปัสสาวะรดกางเกง
·      ติดขวดนม
·      ดูดนิ้ว กัดเล็บ
·      หงอยเหงาเศร้าซึม
·      เรียกร้องความสนใจ
·      อารมณ์หวั่นไหวง่าย
·      ขี้อิจฉาริษยา
·      ฝันกลาวงวัน
·      พูดเพ้อเจ้อ
7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ Children With Learning Disabilities (LD) Learning Disability
·      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
·      มีปัญหาทางการใช้ภาษา
·      ไม่รวมเด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญา มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะ
·      มีปัญหาทักษะคณิตศาสตร์
·      ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
·      เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
·      มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
·      ซุ่มซ่าม
·      รับลูกบอลไม่ได้
·      ติดกระดุมไม่ได้
·      เอาแต่ใจตนเอง
8.เด็กออทิสติก Autistic หรือ ออทิซึ่ม Autism
·      มีความบกพร่องในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และ ความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
·      เด็กออทิสติกมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
·      ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
·      ทักษะภาษา
·      ทักษะทางสังคม
·      ทักษะการเคลื่อนไหว
·      ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาด
ลักษณะเด็กออทิสติก
·      อยู่ในโลกของตัวเอง
·      ไม่เข้าไปหาใคร
·      ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
·      ไม่ยอมพูด
·      เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
·      ติดวัตถุ
·      มีท่าเหมือนคนหูหนวก
9.เด็กพิการซ้อน Children With Multiple Tlandicaps
·      เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่ง
·      สูญเสียการได้ยิน
·      เด็กปัญญาอ่อน ตาบอด
·      หูหนวก
  อาจารย์ให้ดูวีดีโอทีวีครูและให้นักศึกษาสรุปเป็นมายแม็บ